เมนู

ไม่ทำอันตรายร่างกายของผู้อยู่ด้วยเมตตา ก็ในข้อนี้ ท่านอาจารย์ทั้งหลาย
ได้กล่าวเรื่องแม่โคนมไว้.
ได้ยินว่า แม่โคตัวหนึ่ง กำลังยืนหลั่งน้ำนมให้แก่ลูกโคอยู่ นาย-
พรานคนหนึ่ง คิดว่า เราจักแทงแม่โคนั้น จึงใช้มือพลิกไปมาพุ่งหอก
ด้ามยาวไป หอกนั้นแหละ หมุนไปกระทบร่างแม่โคนมนั้น เหมือนใบ
ตาลปลิวไปกระทบฉะนั้น เพราะกำลังอุปจารภาวนาหามิได้ เพราะกำลัง
อัปปนาภาวนาก็หามิได้ เป็นเพราะแม่โคนั้นมีจิตเกื้อกูลอย่างแรงในลูกโค
อย่างเดียว. เมตตามีอานุภาพมากถึงอย่างนี้.
บทว่า ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ ความว่า จิตของบุคคลผู้อยู่ด้วยเมตตา
ย่อมตั้งมั่นได้รวดเร็ว. ความที่จิตนั้นตั้งมั่นช้าไม่มี.
บทว่า มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ ความว่า และหน้าของผู้นั้นย่อมมีสี
ผ่องใส เหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้วฉะนั้น.
บทว่า อสมฺมูฬฺโห กาลํ กโรติ ความว่า ชื่อว่า ความหลงตายของ
ผู้อยู่ด้วยเมตตาไม่มี. ย่อมไม่หลงทำกาละ เหมือนกับก้าวลงสู่ความหลับ.
บทว่า อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต ความว่า บุคคลผู้อยู่ด้วยเมตตา เมื่อ
ไม่บรรลุพระอรหัตอันเป็นคุณวิเศษที่ยิ่งกว่าเมตตาสมาบัติ จุติจากอัตภาพ
นั้นแล้ว ไปเกิดในพรหมโลก เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น.
จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ 5

6. ทสมสูตร


ว่าด้วยธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น


[223] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระ-

นครเวสาลี ก็สมัยนั้น หสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เดินทางไปถึงเมือง
ปาตลีบุตร ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมือง
อัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ณ กุกกุฎาราม ครั้นแล้วได้ถามภิกษุนั้น
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน เพราะว่าข้าพเจ้า
เป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบท่านพระอานนท์ ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี
ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุคาม ใกล้พระนครเวสาลี.
ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ กระทำกรณียกิจนั้นที่เมือง
ปาตลีบุตรเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ณ เวฬุวคาม ใกล้
พระนครเวสาลี ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอย่าง
เอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้โดยชอบมีอยู่หรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอย่างเอกอันเป็นที่
หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น
เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วโดยชอบ มีอยู่.
ท. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้น

แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่
หมดสิ้น หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
ใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยชอบ เป็นไฉน.
อ. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปฐมฌานนี้แลถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่ง
แล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้น
เป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอจึงตั้งอยู่ในสมถะและ
วิปัสสาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นอุปปาติก1พรหม เพราะ
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ 5 โดยความพอใจ
เพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลก
นั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี นี้แลคือธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุด
พ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็น
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.

1. อนาคามี.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสในก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้จตุตถฌานนี้แล ถูกปรุง
แล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบ
แต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่
ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ 5 ด้วยความ
พอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก
อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่
ทิศที่สอง ที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตตินี้แล ถูกปรุง
แล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูก
ตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้ง
อยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็น
อุปปาติกพรหม เพระความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้อง-
ต่ำ 5 ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แล ก็เป็น
ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึง
ความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุ
โดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดย
ลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
แล้วโดยชอบ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรุณา...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยมุทิตา...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศ
หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน

เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อุเบกขา-
เจโตวิมุตตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใด
สิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับ
ไม่เป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อม
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นรูปแห่งสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ 5 ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อน
คฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่หมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยัง
ไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสไว้แล้วโดยชอบ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยการ
บริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุนั้นย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว
ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว
สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะ

และวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หาก
ว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม
เพราะความในรูปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ 5 ด้วยความพอ
ใจเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก
โลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก
อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง ย่อมบรรลุวิญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มี
ที่สุด...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง ย่อมบรรลุลากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า หน่อยหนึ่งไม่มี
ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้แล ถูก
ปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูก
ตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้น
ตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็น
อุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้อง-
ต่ำ 5 ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แล ก็เป็น
ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึง
ความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุ
โดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดย
ลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
ไว้แล้วโดยชอบ.
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ
ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เปรียบเหมือน
บุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ 11 ขุมคราว
เดียวกัน แม้ฉันใด ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ก็ได้
สดับประตูอมตธรรม 1 ประตูคราวเดียวกัน ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษ
มีเรือน 11 ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษพึงอาจเพื่อทำตนให้
สวัสดีโดยประตูหนึ่ง ๆ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าจักอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีได้
ด้วยประตูอมตธรรมประตูหนึ่งๆในบรรดาประตูอมตธรรม 11 ประตูเหล่า
นี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญญเดียรถีย์เหล่านี้
จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักบูชาท่านพระ-
อานนท์อย่างไรเล่า ลำดับนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ นิมนต์
พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในนครเวสาลีและเมืองปาตลีบุตรให้ประชุมกันแล้วอังคาส
ภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือ
ของ นิมนต์ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ให้ครองผ้าคู่หนึ่ง นิมนต์ท่านพระอานนท์

ให้ครองไตรจีวร และสร้างวิหารราคาห้าร้อยถวายท่านพระอานนท์ ดัง
นี้แล.
จบทสมสูตรที่ 6

อรรถกถาทสมสูตรที่ 6


ทสมสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทสโม ความว่า ก็คฤหบดีนั้น เขานับในตำแหน่งที่ 10
ด้วยอำนาจชาติและสกุล และด้วยการนับตระกูลที่เป็นคฤหบดีมหาศาล
เพราะเหตุนั้น เขาจึงชื่อว่า ทสมะนั่นแล. บทว่า อฏฺฐกนาคโร แปลว่า
ชาวเมืองอัฏฐกะ. บทว่า กุกฺกุฏาราเม ได้แก่ อารามที่กุกกุฏเศรษฐี
สร้างไว้.
ในคำว่า เตน ภควตา ฯเปฯ สมฺมทกฺขาโต นี้ มีความสังเขป
ดังต่อไปนี้ :- ทสมคฤหบดี ถามท่านพระอานนท์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้บำเพ็ญพระบารมี 30 ถ้วนแล้ว ทรงหักกิเลสทั้งปวง ทรงรู้ซึ่งอนุตตร-
สัมมาสัมโพธิญาณนั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ชมเชยด้วยเหตุ
4 ประการ ด้วยสามารถแห่งเวสารัชชญาณ 4 อย่างคือ พระองค์ทรงรู้
อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวง
เหมือนผลมะขามป้อมที่วางไว้ในฝ่ามือ อนึ่ง ทรงรู้ด้วยปุพเพนิวาสญาณ
เป็นต้น ทรงเห็นด้วยทิพจักษุ หรือว่าทรงรู้ด้วยวิชชา 3 หรือด้วย
อภิญญา 6 ทรงเห็นด้วยสมันตจักษุ อันไม่ติดขัดในโลกทั้งปวง ทรงรู้
ด้วยปัญญา อันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง หรือทรงเห็นรูปอันล่วงเสียซึ่ง
จักษุวิสัยของสรรพสัตว์ และรูปที่อยู่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยมังส-